เดลินิวส์
2003-10-08
ปลูกมันสำปะหลัง โดยไม่ใช้ปุ๋ยทางเลือกใหม่สำหรับเกษตรกร
 
ช่วงนี้ต้องยอมรับว่า ผลผลิตภาคการเกษตรของไทยกำลังไปได้สวย โดยเฉพาะมันสำปะหลัง ทั้งนี้จาก ข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ที่ร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร และสมาคมการค้ามันสำปะหลังทั้ง 4 สมาคม สรุปผลในช่วงวันที่ 27-30 สิงหาคม ออกมาว่าในปี 2546/47 จะมีผลผลิตรวม 20.43 ล้านตัน และ ราคาหัวมันสำปะหลังอยู่ในเกณฑ์ดีพอสมควร เนื่องจากสหภาพยุโรป หรืออียู ซึ่งเป็นประเทศนำเข้ามันอัดเมล็ดที่สำคัญของไทย ได้ประสบปัญหาคลื่นความร้อน ส่งผลให้ธัญพืชในอียูลดลงมา และจีนซึ่งเป็นประเทศผู้นำเข้ามันเส้น ประสบปัญหาภัยธรรมชาติ ทำให้ผลผลิตข้าวโพดลดลงเช่นกัน ส่งผลให้ทั้งสหภาพยุโรปและจีน ต้องนำเข้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังมากขึ้น คาดว่าราคาหัวมันสำปะหลังที่เกษตรกรขายได้ ในปี 2546/47 น่าจะใกล้เคียงกับปี 2545/46 คือ ประมาณกิโลกรัมละ 0.90-0.95 บาท
 
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกษตรกร หันมาขยายพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังกันมากขึ้น ดังนั้นวิธีที่จะทำให้ได้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจึงมีความจำเป็น โดยเฉพาะเกษตรกรที่ไม่มีพื้นที่ที่จะขยายออกไปอีก แต่ยังมีวิธีเพิ่มผลผลิตแบบง่าย ๆ มีตัวอย่าง เกษตรกรหมู่ 7 บ้านลาดใหญ่ ต.ดอนเมือง จ.นคร ราชสีมา มีวิธีการเพิ่มผลผลิต ดังนี้ ก่อนจะปลูกมันสำปะหลัง ให้นำท่อนพันธุ์แช่ใน น้ำยาโพลีแอร์พลัส 3 อัตราส่วนผสมน้ำ 150 ลิตร น้ำยา 300 ซีซี แช่นาน 5 นาทีแล้วนำไปปลูก จากนั้นฉีดพ่นน้ำยาทางใบด้วยโพลีแอร์พลัส 3 อีก 3 ครั้งห่างกันครั้งละ 40 วัน และเมื่อครบ 180 วันให้เก็บหัวมันสำปะหลังขึ้นมา จะได้ผลผลิตถึงไร่ละ 4-6 ตันโดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยแม้แต่นิดเดียว ข้อดีของการแช่น้ำยาชนิดนี้ นอกจากจะได้หัวมันที่ใหญ่ต้นละประมาณ 4-4.5 กิโลกรัม และผลผลิตต่อไร่สูงแล้ว ในหนึ่งปียังจะสามารถปลูกมันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ ได้ถึง 2 ครั้ง ได้ผลผลิตประมาณ 14 ตันต่อไร่ เลยทีเดียว
 
ส่วน การปลูกข้าวโพด เช่น กัน เกษตรกรอำเภอโพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร ใช้วิธีแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำ 5 ลิตรที่ผสม โพลีแอร์พลัส 3 จำนวน 3-50 ซีซี เป็นเวลา 5 นาที หลังจากนั้นนำไปผึ่งให้ แห้งแล้วนำไปหว่านในแปลง เมื่อต้นข้าวโพดงอกขึ้นมา ให้ฉีดพ่นด้วยโพลีแอร์พลัส 3 ผสมอ๊อฟไซด์ 40 (สูตร 2) อัตราส่วนอย่างละ 30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก ๆ 20 วัน ประมาณ 4 ครั้ง ข้าวโพดจะออกฝักดก 2 ฝักต่อต้น ทำให้ได้ผลผลิต 1,500-1,600 กิโลกรัมต่อไร่ โดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยรองพื้นแต่อย่างใด วิธีการปลูกและการใช้น้ำยาชนิดนี้ นับเป็นทางเลือกสำหรับเกษตรกรอีกทางหนึ่งนะครับ.
 
 
 
 
 
 
Previous  |  Next ]     [ Up a level  |  First   |  Last ]     (Article 55 of 70)

This page is created with TreePad

พงษ์ศักดิ์ อยู่หุ่น PhD
คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยนเรศวร

This version of TreePad is not registered