Publication Code: OP3

การวิเคราะห์ระบบการจัดสรรโควต้า มันสำปะหลัง

โดย อัมมาร สยามวาลา

ไทยได้ลงนามในความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประชาคมยุโรปในเรื่องการผลิต การตลาด และการค้ามันสำปะหลัง เมื่อ พ.ศ. 2525 ซึ่งจำกัดการส่งมันสำปะหลังออกเหลือ 5,000,000 ตันต่อปีในปี พ.ศ. 2526 และ 2527 และ 4,5000,000 ตันต่อปีในปี พ.ศ. 2528 และ 2529 เมื่อได้เซ็นสัญญานี้แล้วทางการไทยก็ประสบปัญหาว่าจะจัดสรรสิทธิในการส่งออกนี้ได้อย่างไ

จากการสนทนากับผู้มีส่วนในการวางนโยบายด้านนี้ได้ความว่า รัฐบาลมีจุดประสงค์หลักอยู่สามประการในการวางมาตรการจัดสรร โควต้าดังกล่าว คือ

(1)    ต้องการให้คงไว้ซึ่งระบบการค้าแบบ "เสรี" ในหมู่ผู้ส่งออก ผู้เขียนได้ตีความว่า การค้าแบบ "เสรี" ขณะที่จะต้องมีการจำกัด การส่งออกนั้นคงหมายถึงการผดุงไว้ซึ่งสภาพการแข่งขันในหมู่พ่อค้าที่จะได้สิทธิการส่งออกโดยจะไม่มีการกล่าวหาว่า รัฐบาลได้สร้าง "เสือนอนกิน" ขึ้นมากลุ่มหนึ่ง  ผู้ที่จะได้สิทธิจะต้องแข่งกันแสดงอะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อจะได้สิทธิอันมีค่านี้

(2)    รัฐบาลต้องการจะให้ราคาที่ขายหัวมันสำปะหลังของเกษตรกรอยู่ในระดับที่สูงที่สุดเท่าที่จะเป็นได้

(3)    ความเห็นของผู้วางนโยบายอย่างน้อยท่านหนึ่งก็คือ ไม่ต้องการที่จะให้มีการเก็บภาษีหรือพรีเมี่ยม เพราะไม่ต้องการให้ ประวัตศาสตร์ซ้ำรอยอีก  ทั้งนี้เพราะแรกเดิมทีนั้น พรีเมี่ยมข้าวก็มีจุดกำหนดจากการซับกำไรอันเกิดจากโควต้าส่งออกเช่นกัน

หลังจากที่ได้ทดลองใช้วิธีการต่าง ๆ มาหนึ่งหรือสองรูปแบบ รัฐบาลก็ได้ประกาศใช้วิธีเก็บสต๊อก และสนับสนุนการส่งออกไปยัง
ตลาดที่สาม ตั้งแต่ปีส่งออก 2527 เป็นต้นมา  สาระสำคัญของมาตรการนี้มีดังต่อไปนี้คือ

(ก)    ผู้ส่งออกที่สามารถส่งมันสำปะหลังอัดเม็ดไปขายในตลาดที่สาม (คือนอกประชาคมยุโรป) ได้เท่าใด ก็จะมีสิทธิ์รับโควต้า ส่งมันสำปะหลังไปขายในประชาคมฯ ได้ในปริมาณเท่ากัน

(ข)    กระทรวงพาณิชย์ได้แบ่งงวดการส่งมันสำปะหลังในแต่ละปีออกเป็นเจ็ดงวด และจะกำหนดโควต้าของแต่ละงวด  โดยหักโควต้า ที่ให้ไปภายใต้เงื่อนไข (ก) จากโควต้ารวมที่กำหนดไว้ในความตกลงร่วมมือฯ โควต้าของแต่ละงวดนี้ก็จะมีการแบ่งสรรแก่พ่อค้า
ส่งออกตามอัตราส่วนของปริมาณสต๊อกมันสำปะหลังที่พ่อค้าแต่ละคนมีอยู่ในมือในวันการสำรวจที่ทางการกำหนดไว้ล่วงหน้า

จะเห็นได้ว่า ระบบการจัดสรรโควต้าดังกล่าวนี้มีความซับซ้อนพอสมควร และมีประเด็นที่น่าวิเคราะห์อยู่บ้างบางประการ บทความนี้จึงมุ่งที่จะนำเอาทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มาประยุกต์กับปัญหานี้ เพื่อประเมินว่ารัฐบาลมีทางที่จะบรรลุเป้าหมายที่ตนเอง วางไว้มากน้อยเพียงใด

เพื่อความสะดวกในการอธิบาย จะเริ่มด้วยการสร้างแบบจำลองวิเคราะห์ปัญหาโควต้าในตอนที่ 2 หลังจากนั้นจะขอแยกพิจารณา
โควต้าประเภท (ก) และประเภท (ข) ที่กล่าวไว้ในตอนที่ 3 และ 4 ตามลำดับ  โดยจะตั้งข้อสมมติไว้ก่อนว่า รัฐบาลจะใช้มาตรการ แจกโควต้าทีละมาตรการ  โดยไม่มีการแจกโควต้าทั้งสองประเภทซ้อนกันไป  เมื่อจบการวิเคราะห์นี้แล้วจึงจะดำเนินการวิเคราะห์
ผลกระทบที่ระบบโควต้าทั้งสองมีต่อกันในตอนที่ 5
 
 

คัดจาก วารสารเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 3, กันยายน 2530.

 
Previous  |  Next ]     [ Up a level  |  First   |  Last ]     (Article 50 of 70)

This page is created with TreePad

พงษ์ศักดิ์ อยู่หุ่น PhD
คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยนเรศวร

This version of TreePad is not registered