มันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญมากชนิดหนึ่งของจังหวัดชลบุรี ในปีหนึ่ง ๆ สามารถทำรายได้หลายร้อย
ล้านบาท
แหล่งเพาะปลูก
มันสำปะหลังสามารถปลูกได้ทุกอำเภอ ยกเว้นอำเภอเกาะสีชัง และอำเภอพานทอง อำเภอที่ปลูก
มากที่สุด คือ อำเภอศรีราชา บางละมุง บ้านบึง และบ่อทอง สำหรับในปี 2543/44 พื้นที่ยืนต้นถึงสิ้นเดือนเมษายน 2544 เท่ากับ 324,944 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 3,678 กก./ไร่ ผลผลิตรวม 1,194,114.2 ตัน
พันธุ์ที่ใช้เพาะปลูก พันธุ์ที่สำนักงานเกษตรจังหวัดส่งเสริม คือ พันธุ์ระยอง 90, ระยอง 5 และเกษตรศาสตร์ 50
ระยะเวลาเพาะปลูก การเพาะปลูกมันสำปะหลังปลูกได้ตลอดทั้งปี ห้วงระยะเวลาที่ปลูกมากเดือนมีนาคม-มิถุนายน
ระยะเวลาเพาะปลูกจนถึงระยะเวลาขุดมันออกสู่ตลาดประมาณ 8-12 เดือน
การเก็บเกี่ยว
ตามปกติแล้วหัวมันจะออกสู่ตลาดตลอดทั้งปี และออกสู่ตลาดมากในช่วงฤดูหนาว ประมาณเดือน
พฤศจิกายน-มีนาคม
การตลาด
ผลผลิตมันสำปะหลังในปี 2543/44 เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาประมาณ 60% เนื่องจากราคาในปีที่ผ่านมา อยู่ในระดับ
สูงจูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังเพิ่มขึ้น ประกอบกับมีการสนับสนุนให้เกษตรกรใช้พันธุ์ส่งเสริม ซึ่งให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น สำหรับราคามันสำปะหลังในปี 2543 มีราคาต่ำกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตที่มากขึ้น
ลักษณะการซื้อขายมันสำปะหลัง
1. เกษตรกรนำผลผลิตไปขายให้กับลานมันหรือโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังโดยตรง หรือโรงงานให้นายหน้าออก
ไปรับซื้อหัวมันที่ไร่ของเกษตรกร
2. เกษตรกรขายผ่านนายหน้า โดยนายหน้าจะไปรับซื้อหัวมันที่ไร่ของเกษตรกร แล้วนำไปขายให้กับลานมันหรือ
โรงแป้งอีกต่อหนึ่ง
ราคารับซื้อมันสำปะหลัง ปี 2541-2543 (หน่วย = บาท:กก.)
เดือน/ปี |
ราคาหัวมันคละ ณ ลานมันเส้น |
|
ปี 2541 |
ปี 2542 |
ปี 2543 |
มกราคม
กุมภาพันธ์
มีนาคม
เมษายน
พฤษภาคม
มิถุนายน
กรกฎาคม
สิงหาคม
กันยายน
ตุลาคม
พฤศจิกายน
ธันวาคม
เฉลี่ยทั้งปี |
1.28
1.45
1.43
-
-
-
-
-
-
1.11
1.12
1.02
1.24 |
1.05
1.06
1.03
0.98
-
-
-
-
0.80
0.80
0.82
0.88
0.93 |
0.84
0.79
0.76
0.69
0.62
-
-
-
-
-
0.71
0.86
0.75 |