ไทยรัฐ 5/09/00
ส่งเสริมเตรียมปรับระบบปลูกมันฯ หลังทําดินพังทั่วประเทศ - พ.ด.ตื่น โดดร่วมโครงการ
นายปราโมทย์ รักษาราษฎร์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปดเผยถึง โครงการปรับระบบการปลูกมันสำปะหลังว่า สืบเนื่องจากมันสำปะหลัง เปนพืชที่ทำให้เกิดการชะล้าง พังทลายของดินสูงมาก โดยพบว่าการปลูกมันสำปะหลัง จะมีการชะล้างพังทลายของดินสูง เปนสองเท่า ของการปลูกถั่วเขียว และสูงเปนสามเท่าของการปลูกข้าวโพด ข้าวฟ่าง หรือถั่วลิสงที่ปลูกเพียง 1 ครั้งในรอบ 1 ปีเนื่องจากการปลูกมันสำปะหลังมีระยะปลูกค่อนข้างกว้างและเติบโตช้ามากในช่วง 3 เดือนแรก ทำให้ฝนตกกระทบพื้นที่โดยตรง
อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า "วิธีการจัดการลดการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังนั้น กรมวิชาการเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ และศูนย์เกษตรเขตร้อนนานาชาติ (CIAT) ได้ร่วมกันวิจัย พบว่ามีหลายวิธีด้วยกัน เช่น ใช้พืชแซมเพื่อให้ฝนชะถูกพื้นน้อยลง เช่น ข้าวโพด ถั่วลิสง ถั่วเขียว ฟักเขียว ฟักทอง หรือทำให้ต้นมันฯแตกทรงพุ่มเร็วขึ้นโดยการใส่ปุ๋ยเคมี-ปุ๋ยคอก-ปุ๋ยพืชสด หรือวิธีการปลูกหญ้าชนิดต่างๆ ขวางแนวลาดชัน ของพื้นที่ปลูก เช่น หญ้าลูซี หญ้าช้าง หญ้าแฝก ตะไคร้ ซึ่งวิธีที่ CIAT กรมส่งเสริมการเกษตร และกรมวิชาการเกษตร ร่วมกันทดสอบที่ จ.สระแก้วและนครราชสีมา ปรากฏว่าเกษตรกรยอมรับวิธีการปลูกหญ้าแฝกขวางแนวลาดชันมากที่สุด โดยในช่วงท้ายโครงการ ยังได้ขยายการทดสอบออกไปยัง จ.กาฬสินธุ์และฉะเชิงเทราด้วย"
"สำหรับโครงการระยะที่ 2 (2542-2546) ได้เพิ่มหน่วยงาน ที่เข้าร่วมโครงการคือ กรมพัฒนาที่ดิน (พ.ด.) มีเป้าหมายที่จะขยายโครงการออกไปอีก 15 จุด รูปแบบดำเนินการได้ปรับเปลี่ยนไปคือ หลังจากที่ได้เกษตรกรกลุ่มผู้สนใจแล้ว จะชี้แจงรายละเอียดโครงการให้เกษตรกรทราบ และนำไปดูงานแปลงสาธิต วิธีการปลูกที่ช่วยลด การชะล้างพังทลายของดิน ซึ่งมีด้วยกัน 16 วิธี และแปลงขยายผลโครงการในบ้านซับพงโพด อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา และบ้านคลองร่วม กิ่งอำเภอวังสมบูรณ์ จ.สระแก้ว ซึ่งเปนจุดนำร่องที่เกษตรกรสามารถเลือกนำ ไปปรับใช้ในพื้นที่ของตนเองได้ โดยในวันที่ 6 ก.ย. กรมส่งเสริมการเกษตรได้ร่วมกับ จ.นครราชสีมา จัดงานวันสาธิต โครงการปรับระบบการปลูกมันสำปะหลัง เพื่อลดการชะล้างพังทลายของดินขึ้นด้วย โดยจะจัดขึ้นที่บ้านซับพงโพด ต.โนนสมบูรณ์ อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา" นายปราโมทย์กล่าว
พงษ์ศักดิ์ อยู่หุ่น PhD
คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยนเรศวร
This version of TreePad is not registered