www.dld.go.th/nutrition/exhibision/feed_stuff/cassava_root.htm

มันสำปะหลัง (มันเส้น, Cassava root)

                    มันสำปะหลังเป็นพืชหัวที่นิยมปลูกกันมากนอกจากใช้เลี้ยงสัตว์ภายในประเทศแล้วยังมีเหลือพอ  สำหรับส่ง ออกไปขายยังต่างประเทศเป็นจำนวนมาก มันสำปะหลังที่นำมาใช้เลี้ยงสัตว์ โดยทั่วไปจะอยู่ในรูปของมันเส้นซึ่งทำได้ โดยการนำหัวมันสำปะหลังสดมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วผึ่งแดดให้แห้งประมาณ 3-5 วัน ส่วนมันสำปะหลังที่ส่งออกไป จำหน่ายยังต่างประเทศนั้นมักจะอยู่ในรูปของมันอัดเม็ด

คุณสมบัติ

มีแห้งประมาณ 75-80 เปอร์เซ็นต์
มีพลังงานใกล้เคียงกับข้าวโพด
มีโปรตีนต่ำประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์

ข้อจำกัดในการใช

ไม่สามารถใช้มันสำปะหลังสดเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากมีสารพิษกรดไฮโดรไซยานิคต้องนำไปผ่านขบวนการลดสารพิษลงก่อน โดยการทำเป็นมันเส้น หรือมันหมัก
ต้องเสริมโปรตีนคุณภาพดีในสูตรอาหารมันเส้นสูง เนื่องจากมันเส้นมีระดับโปรตีนต่ำ ทำให้ราคาอาหารผสมสูงขึ้นด้วย ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เกษตรกรไม่ค่อยนิยมใช้มันสำปะหลัง ยกเว้นในช่วงที่มีราคาถูกมาก
มันเส้นหรือมันหมัก ยังคงมีสารพิษหลงเหลืออยู่ ไม่ควรใช้เกิน 20 เปอร์เซ็นต์ ในสูตรอาหารสุกรเล็ก และลูกไก่เล็ก

ข้อแนะนำในการใช้

ต้องบดให้ละเอียดก่อนนำไปผสมอาหารเลี้ยงสัตว์
สูตรอาหารที่ใช้มันเส้นบด จะมีความเป็นฝุ่นมาก ควรเสริมไขมันในระดับ 1-3 เปอร์เซ็นต์ หรืออาจจะใช้วิธีการอัดเม็ดอาหาร หรือให้อาหารแบบเปียกก็ได้
ควรเลือกใช้มันเส้น เมื่อมีราคาถูกมากกว่า ข้าวโพดหรือปลายข้าว โดยมีหลักในการคิด ดังนี้

ราคามันเส้น 0.85 กิโลกรัม + ราคากากถั่วเหลือง 0.15 กิโลกรัม เปรียบเทียบกับราคา
ข้าวโพด/ปลายข้าว 1 กิโลกรัม หรือ ราคามันเส้น 0.89 กิโลกรัม + ราคาปลาป่น 0.11 กิโลกรัม
เปรียบเทียบกับราคาข้าวโพด/ปลายข้าว 1 กิโลกรัม

ส่วนประกอบทางเคมี

ส่วนประกอบ (%)
ความชื้น 10
โปรตีน 2.5
ไขมัน 0.75
เยื่อใย 3.70
เถ้า 3.70
แคลเซียม 0.12
ฟอสฟอรัสใช้ประโยชน์ได้ 0.05
พลังงานใช้ประโยชน์ได้(กิโลแคลอรี่/กก.)
ในสุกร 3,260
ในสัตว์ปีก 3,500
กรดอะมิโน (%)
ไลซีน 0.09
เมทไธโอนีน 0.03
เมทไธโอนีน + ซีสตีน 0.06
ทริปโตเฟน 0.02
ทรีโอนีน 0.07
ไอโซลูซีน 0.07
อาร์จินีน 0.12
ลูซีน 0.12
เฟนิลอะลานีน+ไทโรซีน 0.12
อิสติดีน 0.03
เวลีน 0.09
ไกลซีน 0.08
 
 
Previous  |  Next ]     [ Up a level  |  First   |  Last ]     (Article 68 of 70)

This page is created with TreePad

พงษ์ศักดิ์ อยู่หุ่น PhD
คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยนเรศวร

This version of TreePad is not registered